วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด


ตอนที่ 1
คำชี้แจง    ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1.   อุปสงค์  หมายความว่าอย่างไร
2.    กฎของอุปสงค์  คืออะไร
3.     ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์  ได้แก่อะไรบ้าง    
4.     อุปทาน  หมายความว่าอย่างไร
5.     กฎของอุปทาน  คืออะไร
6.     ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปทาน  ได้แก่อะไรบ้าง
           

ใบงาน 1


แผนการจัดการเรียนรู้

                                                                แผนการจัดการเรียนรู้  
รายวิชา เศรษฐศาสตร์น่ารู้ 1             รหัสวิชา 21103                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1    อุปสงค์และอุปทาน     จำนวน    2     ชั่วโมง
  
         
สาระสำคัญ
                โดย ปกติแล้ว อุปสงค์ หรือความต้องการของผู้ซื้อที่จะซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภค มักจะ เปลี่ยนแปลงไปในทางตรงกันข้ามกับราคา  ส่วนอุปทานหรือการตอบสนองต่อราคาของผู้ขายมักจะเปลี่ยนไปในทางเดียวกับราคา และการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน  กฎของอุปสงค์ และกฎของอุปทาน  ดุลยภาพของตลาด ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
        มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุปสงค์  อุปทาน กฎของอุปสงค์  กฎของอุปทาน นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

จุดประสงค์การเรียนรู้
  1. อธิบายความหมายของอุปสงค์และกฎของอุปสงค์ได้
  2. อธิบายความหมายของอุปทานและกฎของอุปทานได้
  3. นำความรู้เรื่องอุปสงค์และอุปทานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

สาระการเรียนรู้
    1. ความหมายของอุปสงค์
    2. ความหมายของอุปทาน
    3. กฎของอุปสงค์
    4. กฎของอุปทาน
    คุณธรรม  จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

    คุณธรรม  จริยธรรม
    และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
    ตัวบ่งชี้
    1. ความใฝ่รู้  ใฝ่เรียน
    1. การเข้าห้องตรงเวลา
    2. ตั้งใจทำกิจกรรม
    2. ความรับผิดชอบ
    1. การทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตรงเวลา
    2. การเอาใจใส่มุ่งมั่นปฏิบัติงานจนสำเร็จ
    3. การประหยัด
    1. ออกจากห้องปิดไฟ
    2. การใช้สิ่งของไม่ฟุ่มเฟือย
    4. ความมีระเบียบวินัย
    1. แต่งกายถูกระเบียบของโรงเรียน
    2. ทำงานสะอาดเรียบร้อย
    5. ความซื่อสัตย์
    1. ไม่ลอกงานเพื่อน
    2. ทำแบบทดสอบด้วยตนเอง

    การเตรียมตัวก่อนสอน
    1. ครูศึกษารายละเอียดการสอนจากแผนการจัดการเรียนรู้
    2. แบ่ง กลุ่มนักเรียน  กลุ่มละ 4-6 คน  แล้วให้แต่ละกลุ่มไปสอบถาม  และจดราคาสินค้า  และปริมาณสินค้าการขายในตลาด  กลุ่มละ  1  ชนิด  จากแม่ค้าทุกวัน  เป็นเวลา 7  วันแล้วนำมาสรุปในรูปแบบตาราง  และนำมาจัดป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียนพร้อมทั้งให้สอบถามแม่ค้าว่า  ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น  ผู้ขายต้องการนำสินค้าออกขายเพิ่มขึ้นหรือลดลง 

     กระบวนการจัดการเรียนรู้
    ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
    (ชั่วโมงที่ 1)
    1. สร้างบรรยากาศก่อนเรียนด้วยรอยยิ้มอันแจ่มใส
    2. ครูแนะนำการใช้หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดีย  จากเครื่องคอมพิวเตอร์
    3. นักเรียนดูผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและจุดประสงค์การเรียนรู้จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดีย  เรื่อง อุปสงค์ และอุปทาน
    4. นัก เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4  ตัวเลือกจำนวน  10 ข้อ    เรื่องอุปสงค์ และอุปทาน  นักเรียนทำลงในกระดาษคำตอบที่ครูแจกให้
    5. ครู ถามนักเรียนว่า ถ้าราคาส้มเขียวหวานกิโลกรัมละ 10  บาท นักเรียนจะซื้อกี่กิโล  ถ้าราคาส้มเขียวหวานกิโลกรัมละ 20 บาท  นักเรียนจะซื้อส้มเขียวหวานเพิ่มขึ้นหรือลดลง
                                    (แนวคำตอบ ซื้อส้มเขียวหวานลดลง)

    ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
    1. ครู สุ่มนักเรียน 5  คน  ออกมารายงานหน้าชั้นเรียนว่า  ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้นผู้ขายจะต้องการนำสินค้าออกขายเพิ่มขึ้นหรือลดลง  และจากตารางสินค้าที่ป้ายนิเทศนั้น  ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น  ผู้ซื้อจะซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นหรือลดลง
    2. ครูให้นักเรียนศึกษาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมิเดีย การ์ตูนเรื่องอุปสงค์ และอุปทาน  จากเครื่องคอมพิวเตอร์
                    (ชั่วโมงที่ 2)
    1. แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 4-6  คน  ให้แต่ละกลุ่มอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทานในใบงานที่ 4.1
                    ขั้นสรุป
      1. ตัวแทนกลุ่มออกมารายงานผลการอภิปรายและการสรุปหน้าชั้น    ขณะที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ครูประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม  โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 
      2. นักเรียนและครูร่วมกันสรุป ความหมายของ อุปสงค์  อุปทาน  กฎของอุปสงค์ และกฎของอุปทาน  จนได้บทสรุปว่า
                      อุปสงค์   หมายถึง  ความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
                      อุปทาน  หมายถึง  ความต้องการขายสินค้าของผู้ผลิต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
                      กฎของอุปสงค์ กล่าวว่า       ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น  ผู้ซื้อจะซื้อสินค้าปริมาณลดลง
                                                                      ถ้าราคาสินค้าลดลง   ผู้ซื้อจะซื้อสินค้านั้นปริมาณเพิ่มขึ้น
                      สรุปได้ว่า  ราคาสินค้า  และ ปริมาณ  จะเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงกันข้าม
                      กฎของอุปทาน กล่าวว่า       ถ้าราคาสินค้าลดลง  ผู้ขายจะขายสินค้าปริมาณน้อยลง
                                                              ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น  ผู้ขายจะขายสินค้าปริมาณมากขึ้น
                      สรุปได้ว่า  ราคาสินค้า และปริมาณ  จะเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกัน
      .
      1. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่ 4.1 ลงในสมุดของนักเรียน
      2. ครูแจกบัตรเฉลยแบบฝึกหัดที่ 4.1  นักเรียนเปลี่ยนกันตรวจส่งผลคะแนนคำตอบให้ครู
      3. นัก เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4  ตัวเลือกจำนวน  10 ข้อ  เรื่อง  อุปสงค์ และอุปทาน  นักเรียนทำลงกระดาษคำตอบที่ครูแจกให้
      4. นัก เรียนตรวจแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง  เพื่อวัดความซื่อสัตย์ของนักเรียน  รวมคะแนนและแจ้งให้ครูบันทึกไว้เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
      5. นัก เรียนทำแบบประเมินตนเองด้านคุณธรรม  จริยธรรม  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  รวมคะแนนและหาค่าเฉลี่ย  พร้อมส่งแบบประเมินให้ครูบันทึกไว้

      สื่อการเรียน
        1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดีย เรื่อง อุปสงค์ และอุปทาน
        2. คอมพิวเตอร์
        3. ใบงานที่ 4.1
        4. แบบฝึกหัดที่ 4.1
        5. แบบประเมินผลงานกลุ่ม
        6. แบบประเมินด้านคุณธรรม  จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
        7. แบบทดสอบก่อน / หลังเรียน

       แหล่งเรียนรู้
        1. ห้องสืบค้นสมุดโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
        2. อินเตอร์เน็ต
        3. ห้องคอมพิวเตอร์ 131
        การวัดและประเมินผล
        1. วิธีการวัดและประเมินผล
          • ตรวจแบบทดสอบก่อน / หลังเรียน  แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน  10 ข้อ
          • ตรวจใบงานที่  4.1  เรื่อง อุปสงค์และอุปทาน
          • ตรวจคำตอบแบบฝึกหัดที่ 4.1  เรื่อง อุปสงค์และอุปทาน
          • ประเมินผลงานกลุ่ม
          • ประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
        2. เครื่องมือการวัดและประเมินผล
          • แบบทดสอบก่อน / หลังเรียน  จำนวน  10 ข้อ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน  10 ข้อ (ข้อละ 1 คะแนน)
          • ใบงานที่    เรื่อง อุปสงค์และอุปทาน                                                     
        เกณฑ์การให้คะแนน ใบงานที่ 4.1
        ระดับดี
        8-10  คะแนน
        ให้เหตุผลในการตอบได้เหมาะสม  7-8  ข้อ
        ระดับพอใช้ 
        5-7    คะแนน 
        ให้เหตุผลในการตอบได้เหมาะสม  5-6  ข้อ
        ระดับปรับปรุง
        0-4    คะแนน  
        ให้เหตุผลในการตอบได้เหมาะสม  0-4  ข้อ
              
        • แบบประเมินผลงานกลุ่ม  เกณฑ์การประเมิน  ดีมาก  ดี  พอใช้  ปรับปรุง
        • แบบประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เกณฑ์การประเมิน  ดีมาก  ดี  พอใช้      
        1. เกณฑ์การวัดและประเมินผล
          • ทำแบบทดสอบหลังเรียน  ได้คะแนนร้อยละ  80 ขึ้น
          • ตอบบัตรคำถามในแบบฝึกหัดที่ 4.1    ได้คะแนนร้อยละ  80 ขึ้น
          • ทำใบงานอุปสงค์และอุปทาน ได้คะแนนร้อยละ  80 ขึ้นไป
          • ประเมินผลงานกลุ่ม ได้ในระดับ  ดี  ขึ้นไป
          • ประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ได้ ในระดับ  ดี  ขึ้นไป
        กิจกรรมเสนอแนะ
          • นัก เรียนสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง  และศึกษาความรู้เพิ่มเติม จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมิเดีย เรื่อง อุปสงค์ และอุปทานที่บ้านโดยสำเนาแผ่นซีดีจากครู หรือศึกษาได้ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 131

แบบทดสอบ ก่อนเรียน - หลังเรัยน

แบบทดสอบก่อนเรียน -  หลังเรียน

วัตถุประสงค์         
พื่อทดสอบความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง
                               "อุปสงค์ อุปทาน  ดุลยภาพ"



1.ข้อใดหมายความถึง "อุปสงค์"


นายแอบเหงาต้องการจะซื้อรถยนต์
นายแอบเหงาต้องการซื้อรถยนต์และมีรายได้พอเพียงที่จะซื้อ
นายแอบเหงาไม่ต้องการซื้อรถยนต์ แม้ว่าจะมีรายได้พอ
นายแอบเหงามีรายได้พอที่จะซื้อรถยนต์


2. การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ หมายถึงข้อใด


การย้ายเส้นอุปสงค์
การเคลื่อนไหวภายในเส้นอุปสงค์
การที่อุปสงค์เปลี่ยนแปลงเมื่อราคาเปลี่ยนแปลง
การที่ปริมาณซื้อเปลี่ยนแปลง เมื่อราคาเปลี่ยนแปลง

3. อุปทาน หมายถึง


คุณวิทูรขายรถยนต์ให้เพื่อน
คุณพ่อประกอบธุรกิจหลายประเภท
คุณแม่เป็นเจ้าของร้านขายของที่ระลึก
คุณพอใจเปืดร้านขายอาหาร

4. จากทฏษฏีเศรษฐศาสตร์ ถ้าความต้องการรถยนต์มีมากขึ้น ผลที่จะเกืดขึ้นตืดตามมาคือ


ราคารถยนต์จะต่ำลง
ราคารถยนต์จะสูงขี้น
ปริมาณการผลิตรถยนต์จะเพิ่มขึ้น
ปริมาณการผลิตรถยนต์จะลดลง

5. การที่เส้นอุปทานเคลื่อนย้ายไปทางขวาของเส้นเดิม หมายความว่าอย่างไร


ผู้ผลิตต้องการเสนอขายลดลง
ราคาชนืดนั้นสูงขี้น
ผู้บริโภคมีความต้องการสืนค้าชนิดนั้นลดลง
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตราคาถูกลง

ราคา (บาท) ปริมาณซื้อ (ก.ก) ปริมาณขาย (ก.ก)
5
100
40
10
90
50
15
80
60
20
70
70
25
60
80
30
50
90
35
40
100

ให้ใช้ข้อมูลข้างต้น  ตอบคำถามข้อ 6-10
6. ราคาและปริมาณดุลยภาพ อยู่ ณ ระดับใด

ราคา 5 บาทและ 35 บาท ปริมาณ 100 กิโลกรัม
ราคา 25 บาท ปริมาณ 80 กิโลกรัม
ราคาและปริมาณ 20 บาท
ราคา 20 บาท ปริมาณ 70 กิโลกรัม

7. ถ้าราคาสินค้าเท่ากับ 10 บาท


ปริมาณซื้อเท่ากับปริมาณขาย
ปริมาณขายมากกว่าปริมาณซื้อ
ปริมาณขายจะน้อยกว่าปริมาณซื้อ
การซื้อขายจะไม่เกิดขึ้น


8. ณ ระดับราคาไหน ที่สินค้ามีมากกว่าความต้องการ


ราคา 20 บาท
ราคา 30 บาท
ราคา 15 ยาท
ไม่มีข้อใดถูก

9. ณ ระดับราคาสินค้าเท่ากับ 25 บาท อุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) มีค่าเท่ากับ


20 กิโลกรัม
80 กิโลกรัม
60 กิโลกรัม
ไม่มีข้อใดถูก
10. รายรับรวม (Total Revenue) ของผู้ขาย ณ ราคาดุลยภาพ เท่ากับ

4,800 บาท
2,000 บาท
900 บาท
1,400 บาท

Demand & Supply

บทเรียน อุปสงค์และอุปทาน


อุปสงค์และอุปทาน


อุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) เป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน โดยถือว่าอุปสงค์และอุปทาน เป็นตัวแปรที่กำหนดปริมาณและราคาของสินค้าแต่ละชนิดในตลาด

อุปสงค์ demand) หมายถึง ความต้องการและความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการ 
อุปทาน (supply) หมายถึง สินค้าหรือบริการที่พร้อมจะขายในตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการซื้อ


กฎอุปสงค์ (Law of Demand) และกฎอุปทาน (Law of Supply) เป็นหลักการที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณความต้องการซื้อหรือ ขาย โดยกฎอุปสงค์ระบุว่า ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า หรือเรียกว่าปริมาณอุปสงค์ (quantity demanded) มีความสัมพันธ์ในทางลบกับราคา เมื่อปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลนั้นคงที่ กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะต้องการซื้อสินค้านั้นน้อยลง กฎอุปทานระบุว่า ปริมาณสินค้าที่ต้องการขาย หรือปริมาณอุปทาน (quantity supplied) มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับราคา เมื่อปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลนั้นคงที่ กล่าวคือเมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้ขายมีแนวโน้มที่จะต้องการขายสินค้ามากขึ้น
กฎอุปสงค์และอุปทาน มักนำเสนอออกมาในรูปแบบของแผนภูมิเส้น โดย ให้แกนตั้งเป็นราคา และแกนนอนเป็นปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์มักเขียนออกมาเป็นเส้นลาดลง และเส้นอุปทานเป็นเส้นชันขึ้น แม้ว่าโดยทั่วไปเส้นกราฟอุปทานจะมีลักษณะชันขึ้น อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่เส้นกราฟอุปทานไม่เป็นไปตามลักษณะดังกล่าว ตัวอย่างของข้อยกเว้นนี้ได้แก่ เส้นกราฟอุปทานของแรงงานที่มีลักษณะของการโน้มกลับ กล่าวคือ เมื่ออัตราค่าแรงเพิ่มขึ้น คนงานคนหนึ่งก็พร้อมจะทำงานเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากขึ้น แต่เมื่ออัตราค่าแรงขึ้นถึงจุดที่สูงมากๆ คนงานอาจพบกับเลือกทำงานน้อยลงและใช้เวลาว่างมากขึ้น   การวก กลับของเส้นกราฟอุปทานยังปรากฏในตลาดอื่นด้วย เช่นในตลาดน้ำมัน ประเทศที่ส่งออกน้ำมันหลายประเทศลดการผลิตน้ำมันหลังจากราคาพุ่งสูงขึ้นใน วิกฤตการณ์น้ำมันปีพ.ศ. 2520

ความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทาน

โมเดลของอุปสงค์และอุปทาน อธิบายว่า ตลาดมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ ดุลยภาพ (equilibrium) ซึ่งปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานจะเท่ากัน เรียกราคาที่ภาวะดุลยภาพว่า ราคาดุลยภาพ และปริมาณสินค้าที่ภาวะนี้ว่า ปริมาณดุลยภาพ หากปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน ซึ่งเกิดเมื่อราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพของสินค้านั้น จะเกิดการขาดแคลนสินค้า หรือเรียกว่ามีอุปสงค์ส่วนเกิน ในขณะที่เมื่อปริมาณอุปทานมากกว่าปริมาณอุปสงค์ คือเมื่อราคาสินค้าสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดสินค้าล้นตลาด หรืออุปทานส่วนเกิน โดยเมื่อเกิดกรณีเหล่านี้ ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจะตอบสนองจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ดุลยภาพตอ่เนื่องกัน

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์
  1. อธิบายความหมายของอุปสงค์และกฎของอุปสงค์ได้
  2. อธิบายความหมายของอุปทานและกฎของอุปทานได้
  3. นำความรู้เรื่องอุปสงค์และอุปทานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน